เหลื่อมล้ำยังแรง! กสศ.เสนอ “ลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย” พาคนไทยพ้นจน

เหลื่อมล้ำยังรุนแรง! กสศ.เสนอออกแบบใหม่ “ลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย” พาคนไทยหลุดพ้นจนข้ามรุ่น ประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ชี้ เยาวชนวัยแรงงานตอนต้นอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดรายงานความเหลื่อมล้ำ ปี 2566 “ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ” ชี้ สถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากโควิด-19 และเงินเฟ้อเป็นตัวเร่งสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้รุนแรงขึ้น รายได้ครัวเรือนแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เหลือ 34 บาทต่อวัน น้อยกว่าเกณฑ์ความยากจนในระดับนานาชาติถึงวันละ 80 บาท ชี้ ไทยกำลังเผชิญหน้าความท้าทายในการพัฒนา “ทุนมนุษย์”

โดยจากการสำรวจล่าสุดพบว่า ทุนมนุษย์ในเด็ก เยาวชนวัยแรงงานตอนต้นอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ตั้งแต่ในระดับปฐมวัยมีความพร้อมด้านคณิตและทักษะการฟังลดลง ขณะที่ผลศึกษาเยาวชนวัยแรงงานช่วงต้น (ม.3) สูญเสียความพร้อมด้านอาชีพ มีการประเมินว่าเด็กจากครัวเรือนยากจนที่มี Skill Loss ลดลงมากถึง 30-50% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แนะ ประเทศไทย ออกแบบนโยบายและทรัพยากรใหม่ในการจัดการศึกษายุติวงจรยากจนข้ามรุ่น กสศ.แนะไทยออกแบบ “ลงทุนในทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย” ใหม่ ยุติวงจรยากจนข้ามรุ่น

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดสัมมนาทางวิชาการประจำปี Equity Forum 2023 ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ เพื่อนำเสนอรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี 2566 และผลงานวิจัย และข้อเสนอการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ในประชากร 3 ช่วงวัยสำคัญของประเทศ

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา นำเสนอรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปี 2566 โดยชี้ว่า ปี 2566 หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สถานการณ์เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง เป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษารุนแรงขึ้น โดยเฉพาะค่าครองชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เด็กและเยาวชนจากครัวเรือนเปราะบางได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากมีปัญหาความยากจนหรือด้อยโอกาสในมิติต่างๆ เป็นทุนเดิม ถ้าหากเราไม่ช่วยเหลือ ดูแลเด็กและเยาวชนจากครัวเรือนเปราะบางเหล่านี้ ประเทศไทยอาจมีการฟื้นตัวเป็นลักษณะ K-Shaped (K-Shape Recovery) หมายถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำของเด็กและเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกับครัวเรือนที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจมากกว่าจะยิ่งถ่างกว้างออกไปมากขึ้น

“เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีความพร้อมมากกว่าจะสามารถฟื้นตัวจากภาวะถดถอยจากการเรียนรู้ได้มากกว่า และเด็กที่เข้าไม่ถึงโอกาสในการฟื้นฟูหรือหลุดจากระบบ จะกลายเป็นกลุ่มประชากรรุ่นที่สูญหายจากการเรียนรู้ (Lost Generation) หลักฐานเรื่องนี้ ยืนยันจากข้อค้นพบ ปัญหาทุนมนุษย์ช่วงวัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มยากจนด้อยโอกาส”

ดร.ไกรยส กล่าวว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ในวันนี้จึงต้องเปลี่ยนไป ในบริบท และเงื่อนไขใหม่ ไม่ปล่อยให้เกิดการสูญเสีย หรือ เด็กเยาวชนให้หลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพแม้แต่คนเดียว เพราะเด็กทุกคนเป็นมนุษย์ทองคำ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า นอกจากนี้อัตราการเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เราจะเหลือเด็กเยาวชนให้ลงทุนได้น้อยลงทุกๆ ปี ทุกๆ วัน
“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จะทยอยครบกำหนดในอีก 5-7 ปี หากไม่เร่งลงทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการพัฒนาทุนมนุษย์ ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุเป้าหมายนี้”

ผู้จัดการกสศ.ชี้ว่า การลงทุนในทุนมนุษย์คือกุญแจสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมายการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อคน 40% เพื่อออกจากกับดักรายได้ปานกลาง ภายในปี 2579 ของไทย ทุนมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่ฐานภาษีที่กว้างและลึกขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้ และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ จากการประเมินขององค์การ UNESCO พบว่าหากประเทศไทยสามารถยุติปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ถึง 3%”

ดร.ไกรยส ระบุว่า ปีการศึกษา 2566 ประเทศไทยมีจำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษราว 1.8 ล้านคน โดย กสศ. สนับสนุนทุนเสมอภาคให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษ หรือยากจนระดับรุนแรง (Extremely Poor) จำนวน 1,248,861 คน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ตัวเลขยังไม่แตะหลักล้านคือ 994,428 คน เด็กกลุ่มนี้ แม้จะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่ความยากจนในระดับรุนแรงยังเป็นอุปสรรคทำให้เด็กบางคนไม่สามารถมาเรียนได้ ความเป็นอยู่ของเด็กแร้นแค้น สภาพบ้านเข้าข่ายทรุดโทรม ไม่มีค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาได้ รายได้ของครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษที่มีบุตรหลานอยู่ในระบบการศึกษามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 1,250 บาทต่อเดือน ในปี 2562 ปี 2566 ลดลงเหลือ 1,039 บาทต่อเดือน หรือวันละ 34 บาท หรือลดลงราวร้อยละ 5 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ความยากจนระดับนานาชาติ 2.15 ดอลลาร์ต่อวันหรือวันละประมาณ 80 บาท

ผู้จัดการกสศ. ชี้ว่า จากการติดตามข้อมูลนักเรียนจากครัวเรือนยากจนและยากจนพิเศษตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2566 มีข้อค้นพบ ดังนี้ 1.ยิ่งการศึกษาระดับสูง โอกาสที่เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะได้เรียนต่อก็น้อยลงเรื่อยๆ ปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษเพียง 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่สามารถศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้สำเร็จ (21,921 คนหรือ 12.46%) ต่ำกว่าค่าสถิติของทั้งประเทศมากกว่า 2 เท่า และ 2.ช่วงชั้นรอยต่อเป็นช่วงเวลาวิกฤติที่เด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบมากที่สุด เพราะจำเป็นต้องย้ายสถานศึกษาในช่วงเปิดเทอมและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น ค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน ค่าเดินทางมาสมัครเรียน หรือการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อ
เด็กกลุ่มนี้ต้องผ่านด่านที่เป็นอุปสรรคจำนวนมากจนต้องยอมแพ้ไม่เรียนต่อในที่สุด เช่น ค่าใช้จ่ายในการเข้ามหาวิทยาลัยคิดเป็น 12 เท่าของรายได้นักเรียนยากจนพิเศษ หรือราว 13,200-29,000 บาท กสศ. ได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักเรียนยากจนพิเศษที่เข้าศึกษาต่อผ่านระบบ TCAS พบว่า “ทุนการศึกษาคือปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินใจเรียนต่อ” ขณะที่ค่าใช้จ่าย TCAS ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของนักเรียนยากจนพิเศษ การสมัคร TCAS แต่ละรอบ/สาขา หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น

ด้าน รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) รายงานความพร้อมของเด็กปฐมวัยในการเข้าสู่ประถมศึกษา หรือ School Readiness Survey (SRS) ชี้ว่า ความพร้อมด้านการอ่านและคณิตบางมิติของเด็กปฐมวัย ยังน่าเป็นห่วงควรเร่งช่วยเด็กที่มีปัญหาก่อนสายเกินแก้ เพราะความพร้อมนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จะเรียนในระดับประถมได้ดีแค่ไหน โดยการสำรวจสถานะความพร้อมเด็กปฐมวัยที่เรียนอยูในระดับอนุบาล 3 จำนวน 43,213 คน จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างปีการศึกษา 2562-2565 ถึงแม้จะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ในระดับหมวดย่อยของทักษะด้านคณิตศาสตร์อยู่ในระดับที่น่ากังวลมาก เช่น ความพร้อมด้านการต่อรูปในใจ มีจังหวัดจำนวนมากที่มีระดับความพร้อมด้านการต่อรูปในใจต่ำมากร้อยละ 15 ส่วนด้านภาษาพบว่า ความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟังอยู่ในระดับที่น่ากังวล มีเด็กปฐมวัยทั่วประเทศถึงร้อยละ 25 ที่มีความเข้าใจในการฟังต่ำมาก

“เราควรโฟกัสเด็กที่ไม่พร้อม (low-readiness children) โดยเฉพาะ เด็กที่ขัดสน มีโอกาสขาดความพร้อมสูงกว่า ควรให้ความสำคัญกับเด็กกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ก็ให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่สูงมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น (high marginal returns)”

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอ รายงานความพร้อมทุนมนุษย์ในเยาวชนแรงงานช่วงต้น (Career Readiness Survey) ระบุว่าเครื่องมือนี้สำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนกว่า 5,200 คน ใน 26 จังหวัด ทั้งหมด 246 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสจำนวน 156 โรงเรียน และโรงเรียนประเภทอื่นๆ จำนวน 91 โรงเรียน พบว่าทั้งหมดเกิดการสูญเสียความพร้อมด้านอาชีพ (Career Readiness Loss) จากการประเมิน Soft Skill ทั้ง 7 ด้านได้แก่ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ทักษะการแก้ปัญหาทักษะความร่วมมือกัน ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผลที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งหมด ลดลงถึง 30-50% โดยกลุ่มที่มีคะแนนทดสอบต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนจากครัวเรือนยากจน ถ้าเป็นเด็กในโรงเรียนมัธยมทั่วไปจะลดลง 5-15% ดังนั้นถ้าเด็กยากจนกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษาจะมีชีวิตที่ลำบากมาก “นี่เป็นสภาพของเด็กที่จะเจอปัญหาหนักที่สุด แต่ความสามารถในการรับมือกับปัญหาต่ำที่สุด”

ดร.เกียรติอนันต์ ยังระบุว่า ถ้านำข้อมูลเรื่องความสำเร็จในตลาดแรงงานมาวิเคราะห์จะพบว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะมีแรงผลักดันเพียงพอทำให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยขยับได้จริงๆ เราต้องส่งทุกคนให้จบ ปวส. หรือมีทักษะเทียบเท่าคนจบ ปวส. ถ้าต่ำกว่านี้ เด็กจะไม่หลุดจากกลุ่มก้อนทักษะทุนมนุษย์ระดับล่าง ซึ่งอาจจะเป็นการยกระดับทักษะให้เทียบเท่า

สำหรับรายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพร้อมข้อเสนอนโยบายฉบับเต็ม สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.eef.or.th/publication-28816/


Football news:

<!DOCTYPE html>
Kane on Tuchel: A wonderful man, full of ideas. Thomas in person says what he thinks
Zarema about Kuziaev's 350,000 euros a year in Le Havre: Translate it into rubles - it's not that little. It is commendable that he left
Aleksandr Mostovoy on Wendel: Two months of walking around in the middle of nowhere and then coming back and dragging the team - that's top level
Sheffield United have bought Euro U21 champion Archer from Aston Villa for £18.5million
Alexander Medvedev on SKA: Without Gazprom, there would be no Zenit titles. There is a winning wave in the city. The next victory in the Gagarin Cup will be in the spring
Smolnikov ended his career at the age of 35. He became the Russian champion three times with Zenit

3:19 Golden eel glimmer sparks lottery fever in central Thailand
3:07 Thai firms to get tax cuts for aiding PM2.5 pollution reduction efforts
3:02 At least 22 dead in Maine shootings, gunman at large
2:55 Molasses spill from overturned truck causes traffic chaos on Ram Intra Road
2:53 Thai students meditate on their rights, challenge world record bid
2:21 Worker seeks aid in returning late twin
2:00 UrbanFlowers, where flower delivery and gifting gets a stylish, tech-savvy upgrade
1:50 Thailand mayor resigns following arrest over 600,000 baht extortion charges
1:45 China's top diplomat starts US visit as Biden stands firm
1:40 Chiang Mai singer Farm faces legal action for setting trousers on fire on stage
1:28 Impending heavy rainfall threatens 40 Thai provinces, Bangkok residents warned of potential flash floods
1:23 Drought likely to push up sugar prices
1:15 Thai worker pleads for government help to retrieve twin’s body from Israel
1:13 No tyre gambles in Martin's strategy
0:53 Thailand refines 10,000-baht digital handout eligibility amid wealth exclusion fears
0:53 Urgent plea to commercial counsellors
0:44 PM vague on 10K recipients
0:38 Thai hostages may be released in next Hamas prisoner batch, says PM
0:25 Illegal forest gambling den in Chon Buri raided, 29 arrested including policeman
0:10 Thai karaoke shop owner arrested in anti-human trafficking operation
23:58 Chon Buri man filmed in indecent act outside convenience store, community calls for police action
23:53 House rejects motion for public referendum
20:25 'อันนา' ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องเยียวยาเยาวชนที่ถูก พม.คุมตัวโดยมิชอบ อุ้มออกจากร้านแมคฯ ปี'65
17:18 นักกิจกรรมเยาวชน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ก่อนชม ‘สัปเหร่อ’ ร้องสอบปม จนท.พม.คุกคาม ตามคดีตากใบ-112
16:33 พรรคร่วมแจงแนวทางการทำประชามติแก้ รธน.ของรัฐบาลดีอยู่แล้ว เสนอญัตติเข้าสภาอาจโดน สว.ตีตก
15:30 ‘จุลพันธ์’ ชง คกก.ชุดใหญ่ตัดสินใจ ใครได้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทบ้าง คาดโอนได้หลัง เม.ย.67
15:00 Israel-Hamas War: Live news and updates
14:45 Exhausted Republicans eye breakthrough in quest for US speaker
14:40 'ก้าวไกล' ชวนลูกจ้างลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง คกก.ประกันสังคม ภายใน 31 ต.ค.นี้ ล่าสุดลงเพียง 0.69%
14:14 [Live] คุยกับนักข่าวอาวุโส : 19 ปี ตากใบ 19 ปี ภูมิทัศน์สื่อชายแดนใต้/ปาตานี
14:04 สภาฯ ไม่เห็นด้วย ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษามาตรการควบคุมฝูงชน โดยมีมติส่งข้อเสนอไปยัง ครม. แทน
12:51 Flying cars, next-gen EVs at Tokyo auto show
12:34 "บิ๊กทิน" ตรวจเยี่ยม มอบนโยบายปฏิบัติงาน ทอ.จัดเต็มพิธีต้อนรับ รมว.กลาโหม
12:25 เหลื่อมล้ำยังแรง! กสศ.เสนอ “ลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัย” พาคนไทยพ้นจน
12:18 “อิ๊งค์” ไม่กังวลคนร้อง “ทักษิณ” รักษาตัวรพ.ตำรวจ เชื่อพ่อหนุนทุกบทบาท
12:16 Spaniard charged in murder, dismemberment of Colombian on Koh Phangan
10:58 แอมเนสตี้ฯ เรียกร้องรัฐบาลไทยเร่งดำเนินการนำเจ้าหน้าที่เอี่ยวสลายชุมนุมตากใบมารับผิดก่อนหมดอายุความ
10:45 UN warns Gaza fuel shortage will stop aid work by end of day
10:41 Just 180 active 'influential people', 10 provinces have none
10:37 More Thais return from war-torn Israel
10:01 ลองกันรึยัง ‘หมากฝรั่งกลิ่น M-150’ เปิดประสบการณ์เคี้ยวสนุก สดชื่น เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
9:27 สภาฯ มีมติ 262 : 162 คว่ำญัตติก้าวไกล ขอทำประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
9:14 Wealthy won't get digital handout, says PM
8:33 ศาลพิพากษาคดี ม.112 สามคดีติด รอลงอาญา 2 ศาล ยกฟ้อง 1 ศาล
8:11 หุ่นยนต์ AI Romi คอลเลกชันใหม่ Hello Kitty ฉลองครบรอบ 50 ปี Hello Kitty
7:16 มาม่าเตรียมเปิด มาม่า สเตชั่นสาขา RCA เอาใจคนเมาชอบกินมาม่าหลังผับปิด
10:35 Hit-and-run in Chon Buri: woman urges culprit to own up after car gets battered
10:31 ทบ.ชี้แจงยังไม่มีคำสั่งย้ายเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ปมน้ำมันทหารหาย 2 แสนลิตร
10:26 Woman found dead in Prachin Buri hut prompts discussion on rural mental health awareness
10:21 Don Mueang to host first hospital in Thai 50-district healthcare roll-out
10:15 Ankara explosion classified as terror attack leaves two police injured
10:13 ชาวบ้านลุ่มน้ำชีล่างโวยกรมชลประทานบริหารน้ำพลาด ทำน้ำท่วมนาเสียหาย
10:11 New pit viper species discovered in Thailand’s Thale Ban National Park
10:08 New era in Thai law enforcement as Torasak Sukwimon steps into National Police Chief role
10:01 Reddit user’s video sparks debate over mysterious 514 scribbled by food delivery rider
9:49 Derailed train in Phrae being removed
9:45 UN mission arrives in Karabakh, first visit in 30 years
9:42 Thailand braces for week of heavy rain, rising waterways
9:28 Flood warning issued for 10 provinces and Bangkok as heavy monsoon rains threaten Chao Phraya River
8:51 Army ordnance chief transferred over missing diesel
8:43 พีมูฟ ประกาศปักหลักชุมนุมครั้งแรกในรัฐบาล ‘เศรษฐา’ ผลักดันนโยบาย 9 ด้าน
8:26 นักวิชาการแนะรัฐบาลเร่งพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา-ต่อยอดการพัฒนา EEC
8:17 Dutch father and son die in truck crash in Nakhon Ratchasima
8:13 Tourism body urges Thai government to lift Malaysian bus restrictions
8:12 องค์กรแรงงานเรียกร้องเงินค้างจ่ายให้ลูกเรือได้ถึง 118 ล้านดอลลาร์ ในรอบ 3 ปี
8:02 Patongtharn Shinawatra tipped as new Pheu Thai Party leader
8:00 “ชัยธวัช” ไม่ทราบ คนไล่ “หมอพรทิพย์” เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลหรือไม่
7:59 DGA pins digital hopes on app
7:59 Govt pins digitisation hopes on app
7:58 New kind of pit viper discovered in South
7:50 หนุ่มแก้เผ็ด คนจอด "รถยนต์ไฟฟ้า" คาจุดชาร์จ น้ำใจงามด้วยการช่วยเสียบสายชาร์จ
7:46 Govt sees B140bn from China tourism after visa waivers
7:38 Thai lottery livestream draws in eager participants with six million baht top prize
7:23 Chon buri man fatally shot seven times leaves toddler behind: Mother pleads for justice
7:03 Mooncake hilarity ensues as gift circles back to original buyer in Changjiang
7:02 Arpichya claims surprise golf gold for Thailand
6:58 'สุดารัตน์' ขอรัฐบาลจริงใจ เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ
6:51 Thai senator sparks outrage for disrespecting protected moss in Iceland and facing public rebuke
6:45 Bangkok father faces charges for child abuse: Paweena Hongsakul Foundation steps in
6:44 Don Muang to kick off Bangkok's '50 districts, 50 hospitals' policy
6:28 Thais support state subsidies for childcare, free education to boost birthrate
6:25 Feeder link for high-speed rail gets all-clear
6:22 Premier urged to open up South to tourism buses
6:22 Premier urged to lift curbs on Malaysian tour buses
6:19 Chiang Mai bridge collapses amid heavy rain, locals express relief
6:13 คนร้ายยิง M16 ใส่ฐานชุดคุ้มครอง ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา
6:10 Thai education pioneer Professor Wijit Srisa-arn passes away at 88
5:58 Fatal highway crash: Container truck skids off course, collides with taxi
5:47 'ผบ.ทบ.' สั่งย้าย ‘เจ้ากรมสรรพวุธ’ เซ่นปมน้ำมันหาย 2 แสนลิตร
5:42 MFP faces corruption probe over contentious Deputy House Speaker expulsion
5:27 “ก้าวไกล” ชวนแรงงานปทุมฯ ถกผลักดัน 4 กฎหมายยกระดับชีวิตคนงาน
5:23 Bangkok’s Sustainability Expo 2023 highlights local goods and projects
5:23 Asian Games 2023: from robot dogs to hot meals vending machines, Chinese tech firms chase new customers in Hangzhou
5:14 Myanmar residents of Japan vow to help 2m displaced in homeland
4:58 Blackpink’s Lisa to receive Thai cultural ambassador award for promoting local culture
4:46 Thai Prime Minister acts swiftly on northern region’s escalating flood crisis
4:38 นิด้าโพลเผยผลสำรวจ 'ภาระค่าใช้จ่าย-สภาพสังคม' ส่งผลคนไทยไม่อยากมีลูก
4:02 Majority want state subsidies for childcare, free education: Nida Poll
4:02 Most want subsidised childcare, free education to spur birth rate: poll
2:33 Participants hopeful about SX 2023